เมนู

พระนามว่า ภควา นี้ เป็นวิโมกขันติกนาม (พระนามมีในอรหัตผลใน
ลำดับแห่งอรหัตมรรค) เป็นสัจฉิกาบัญญัติ (บัญญัติที่เกิดเพราะทำให้แจ่ม-
แจ้งซึ่งอรหัตผลและธรรมทั้งปวง) พร้อมด้วยการทรงบรรลุพระสัพพัญ-
ญุตญาณ ณ ควงโพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย ผู้ตรัสรู้แล้ว
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่มีความกำหนด ไม่เข้าไปยินดี ไม่มีความ
ปรารถนา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าดังนี้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
มุนีนั้น กำจัดเสนาแล้วในธรรมทั้งปวง คือ ในรูป
ที่เห็น ในเสียงที่ได้ยิน ในอารมณ์ที่ทราบ มุนีนั้น เป็น
ผู้ปลงภาระลงแล้ว พ้นขาดแล้ว ไม่มีความกำหนด ไม่
เข้าไปยินดี ไม่มีความปรารถนา พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่าดังนี้ ฉะนี้แล.

จบมหาวิยูหสุตตนิทเทสที่ 13

อรรถกถามหาวิยูหสุตตนิทเทสที่ 13


พึงทราบวินิจฉัยในมหาวิยูหสุตตนิทเทสที่ 13 ดังต่อไปนี้.
แม้บทนี้ว่า เยเกจิเม ทิฏฺฐิปริพฺพสานา สมณพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่งมีความอยู่รอบในทิฏฐิ พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะทรงทำความ
นั้นให้แจ้งแก่เทวดาทั้งหลาย บางพวกที่มีจิตเกิดขึ้นว่า สมณพราหมณ์
เหล่านั้น มีความอยู่รอบในทิฏฐิย่อมได้รับนินทาอย่างเดียวหรือ หรือว่า

ได้รับความสรรเสริญด้วย จากสำนักของท่านผู้รู้ทั้งหลาย จึงทรงให้
พระพุทธนิมิตตรัสถามพระองค์ แล้วจึงตรัสโดยนัยก่อนนั่นแล.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อนฺวานยนฺติ ความว่า ย่อมติดความเนือง ๆ
ย่อมนำมาบ่อยๆ. บทว่า นินฺทเมว อนฺเวนฺติ ย่อมถูกนินทาอย่างเดียว คือ
ย่อมเข้าถึงการติเตียน.
บัดนี้ เพราะพวกเจ้าทิฏฐิทั้งหลาย แม้กล่าวอยู่ว่า นี้เท่านั้นจริง
ย่อมได้รับแม้ความสรรเสริญในบางครั้งบางคราว ผลแห่งวาทะ คือความ
สรรเสริญนั้นน้อยไม่สามารถเพื่อสงบกิเลสมีราคะเป็นต้นได้ จะกล่าวอะไร
ถึงผลแห่งการนินทาครั้งที่สอง ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรง
แสดงความนั้น จึงตรัสคาถาแก้นี้ก่อน มีอาทิว่า ก็ความสรรเสริญนั้นเป็น
ของน้อย ไม่พอเพื่อสงบกิเลส ข้าพระองค์กล่าวผลแห่งความวิวาทเป็น
2 อย่าง.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ทุเว วิวาทสฺส ผลานิ ผลแห่งวิวาท
2 อย่าง ได้แก่ นินทา และสรรเสริญ หรือความชนะและความแพ้
เป็นต้น อันมีส่วนเสมอกันกับนินทาและสรรเสริญนั้น. บทว่า เอตมฺปิ
ทิสฺวา
คือ เห็นโทษในผลแห่งวิวาทแม้นั้นว่า นินทาเป็นสิ่งไม่น่าปรารถนา
เลย ความสรรเสริญน้อยไม่พอเพื่อสงบกิเลสได้เลย. บทว่า เขมาภิปสฺสํ
อวิวาทภูมึ
1 คือ เห็นอยู่ซึ่งภูมิแห่งความไม่วิวาท คือนิพพานว่าเป็นธรรม-
ชาติเกษม.
บทว่า อปฺปกํ คือ น้อย. บทว่า ปริตฺตกํ คือ นิดหน่อย. บทว่า
โอมกํ คือ ต่ำช้า. บทว่า ลามกํ คือ ลามก. บทว่า สมาย คือ เพื่อ
ความสงบกิเลสมีราคะเป็นต้น. บทว่า อุปสมาย เพื่อเข้าไปสงบ คือเพื่อ

1. บาลีว่า อวิวาทภุมฺมํ.

ความสงบสูงขึ้นรูป. บทว่า วูปสมาย เพื่อสงบวิเศษ คือเพื่อให้จมหายไป.
บทว่า นิพฺพาปนาย เพื่อดับ คือเพื่อประโยชน์แก่อมตมหานิพพาน.
บทว่า ปฏินิสฺสคฺคาย เพื่อสละคืน คือเพื่อสละกิเลสทั้งหลายด้วยมรรค.
บทว่า ปฏิปสฺสทฺธิยา เพื่อระงับ คือไม่พอเพื่อไม่ให้เกิดความระงับ
ด้วยผล. เพราะอย่างนี้จึงไม่วิวาทกัน.
พึงทราบคาถาว่า ยากาจิมา ทิฏฐิเหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นต้นดังนี้ .
ในบทเหล่านั้น บทว่า สมฺมติโย คือ ทิฏฐิทั้งหลาย. บทว่า ปุถุชฺชา
คือ ที่เกิดแต่ปุถุชน. บทว่า โส อุปยํ กิเมยฺย บุคคลนั้น พึงถึงสังขาร
ธรรมอันควรเข้าถึงอย่างไรเล่า ความว่า บุคคลนั้น พึงเข้าถึงธรรมแม้
อย่างหนึ่งในบรรดารูปเป็นต้น อันควรเข้าถึงอย่างไรเล่า หรือพึงเข้าถึง
ด้วยเหตุไรเล่า. บทว่า ทิฏฺเฐ สุเต ขนฺติมกุพฺพมาโน คือ ไม่ทำความ
ชอบใจในรูปที่เห็นและในเสียงที่ฟังอันหมดจดทั้งหลาย.
บทว่า ปุถุชฺชเนหิ ชนิตา วา คือ สมมติเหล่านั้นอันปุถุชนให้เกิด.
บทว่า ตา สมฺมติโย ได้แก่ ทิฏฐิเหล่านั้น. บทว่า ปุถุนานา-
ชเนหิ ชนิตา วา
คือ หรือว่าอันเป็นเจ้าทิฏฐิต่าง ๆ มากให้เกิด. บทว่า
เนติ ตัดบทเป็น น เอติ คือ ไม่ถึง. บทว่า น อุเปติ ไม่เข้าถึง คือ
ไม่เข้าไปใกล้. บทว่า น อุปคจฺฉติ ไม่เข้าไปถึง คือกลับ. บทว่า
นาภินิวิสติ ไม่ยึดมั่น คือไม่เข้าไปตั้งมั่น. นอกเหนือไปจากนี้ พึงทราบ
คาถาว่า สีลุตฺตมา สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้สำคัญว่า ศีลอุดม ดังนี้
เป็นต้น ต่อไป.
บทนั้นมีความดังนี้ สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางพวกสำคัญว่า ศีลอุดม
สมาทานวัตรมีวัตรของช้างเป็นต้น แล้วเข้าไปตั้งอยู่ ได้กล่าวความหมดจด

ด้วยความสำรวมว่า ความหมดจดของศาสดานั้น ในทิฏฐินี่แหละ
สมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้เข้าถึงภพ สยบอยู่ในภพ ย่อมกล่าวว่าเป็น
ผู้ฉลาด. อนึ่ง สมณพราหมณ์เหล่านั้นกล่าวว่า เป็นผู้ฉลาด คือ มีวาทะ
อย่างนี้ว่า เราเป็นผู้ฉลาด. บรรดาสมณพราหมณ์ผู้มีศีลอุดม อย่างนี้
เหล่านั้น สมณพราหมณ์คนใดคนหนึ่งปฏิบัติอย่างนั้น พึงทราบคาถาว่า
สเจ จุโต ถ้าบุคคลเป็นผู้เคลื่อนจากศีลและพรตนี้ ดังนี้เป็นต้นต่อไป.
บทนั้นมีความดังนี้ ถ้าบุคคลเป็นผู้เคลื่อนจากศีลและพรต คือเป็นผู้
เคลื่อน ด้วยการตัดขาดจากบุคคลอื่น หรือไม่บรรลุ บุคคลนั้นพลาดมรรค
คือศีลและพรตนั้น หรือกรรมมีปุญญาภิสังขารเป็นต้น แล้วย่อมหวั่นไหว
ถึงภพ อนึ่ง ย่อมอยาก เพ้อเจ้อ และปรารถนาถึงความหมดจดของศีล
และพรตนั้น. เหมือนอะไร. เหมือนบุรุษออกจากเรือนตามไปไม่ทันพวก
ฉะนั้น เขาปรารถนาเรือนนั้นหรือพวก ด้วยการชี้ขาดของคนอื่น ถูกคนอื่น
ห้ามหรือไม่บรรลุ เพราะเหตุนั้นจึงไม่ยังการปฏิบัตินั้นให้สมบูรณ์ได้. บทว่า
ญายาปรทฺโธ พลาดจากอรหัตผล คือ เสื่อมจากนิพพาน หรือจากมรรค.
บทว่า ตํ วา สตฺถํ อนุพนฺธติ คือ ติดตามพวกนั้นไปข้างหลัง
ในทุกแห่งหน. พึงทราบคาถาว่า อริยสาวกละศีลและพรตทั้งปวง
อันเป็นเหตุให้ศีลอุดมหวั่นไหวได้ ดังนี้เป็นต้นต่อไป.
ในบทเหล่านั้น บทว่า สาวชฺชานวชฺชํ ละกรรมอันมีโทษและ
ไม่มีโทษ คือ อกุศลทั้งหมด และกุศลที่เป็นโลกิยะ. บทว่า เอตํ สุทธึ
อสุทฺธินฺติ อปฏฺฐยาโน
ไม่ปรารถนาความหมดจดและความไม่หมดจดนี้
คือ ไม่ปรารถนาความหมดจด อันได้แก่กามคุณ 5 เป็นต้น และความ
ไม่หมดจด อันได้แก่อกุศลเป็นต้น.

บทว่า วิรโต จเร เป็นผู้เว้นแล้ว จึงประพฤติ คือ เป็นผู้เว้นแล้ว
จากความหมดจดและความไม่หมดจด พึงปฏิบัติ. บทว่า สนฺติมนุคฺคหาย
คือ ไม่ยึดถือทิฏฐิ.
บทว่า กณฺหํ กณฺหวิปากํ กรรมดำมีผลดำ คือ อกุศลกรรมให้ผล
เป็นอกุศลวิบาก. บทว่า สุกฺกํ สุกฺกวิปากํ กรรมขาวมีผลขาว คือ กุศล
เป็นโลกิยะให้ผลขาว เช่นเดียวกับด้วยตน. บทว่า นิยามาวกฺกนฺตึ คือ
ปรารถนาเข้าสู่อริยมรรค.
บทว่า เสกฺขา คือ พระเสขะ 7 จำพวก. บทว่า อคฺคธมฺมํ คือ
ธรรมสูงสุด ได้แก่อรหัตผล.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงถึงการกำจัดวาทะอันหมดจด
ด้วยการสำรวมในศีลอุดม ภายนอกจากนี้อย่างนี้ของสมณพราหมณ์เหล่านั้น
และการปฏิบัติของพระอรหันต์ผู้ละศีลและพรตแล้ว บัดนี้เพื่อทรงแสดง
วาทะอันบริสุทธิ์ภายนอกโดยประการอื่น จึงตรัสคาถานี้ว่า ตมูปนิสฺสาย
พวกสมณพราหมณ์อาศัยตบะนั้น ดังนี้เป็นต้น.
บทนั้นมีความดังนี้ มีสมณพราหมณ์แม้พวกอื่นอาศัยตบะที่เกลียด
ชังนั้น หรืออาศัยอย่างใดอย่างหนึ่งบรรดารูปที่เห็นอันหมดจดเป็นต้น
เป็นผู้กล่าวความหมดจดในสงสารข้างหน้าด้วยอกิริยทิฏฐิ ยังไม่ปราศจาก
ตัณหาในภพน้อยภพใหญ่ ย่อมพร่ำพูดถึงความหมดจด.
บทว่า ตโปชิคุจฺฉวาทา มีวาทะเกลียดชังตบะ คือ สมณพราหมณ์
ทั้งหลาย มีวาทะละอายต่อบาปด้วยทำความเพียรมีทรมานร่างกายเป็นต้น.
บทว่า ตโปชิคุจฺฉสารา มีความเกลียดชังตบะเป็นสาระ คือมี

ความละอายด้วยตบะนั้นเป็นสาระ. บทว่า อุทฺธํสราวาทา คือ กล่าวความ
หมดจดด้วยสงสาร.
อธิบายว่า เมื่อสมณพราหมณ์เหล่านั้นผู้ยังไม่ปราศจากตัณหาอย่างนี้
ยังกล่าวถึงความหมดจด แม้ผู้ใดสำคัญตนว่าถึงความหมดจดแล้ว เมื่อ
ผู้นั้นยังปรารถนาวัตถุนั้น ๆ ในภพน้อยภพใหญ่ เพราะยังไม่ปราศจาก
ตัณหา ย่อมมีความอยากได้อยู่บ่อย ๆ นั่นเอง. จริงอยู่ ตัณหาที่บุคคลเสพ
เป็นอาจิณ ย่อมเพิ่มความทะเยอทะยานหนักขึ้น ไม่เพียงความอยากอย่าง
เดียว แม้ความหวั่นไหวก็ย่อมมีในเพราะวัตถุทั้งหลายที่กำหนดไว้แล้ว.
ท่านอธิบายว่า แม้ความหวั่นไหวก็ย่อมมี ในเพราะวัตถุที่กำหนดไว้
ด้วยตัณหาและทิฏฐิ. พึงเชื่อมความแห่งคาถานี้ว่า การจุติและอุปบัติ
ต่อไป ไม่มีแก่ภิกษุใดในศาสนานี้ เพราะปราศจากตัณหาแล้วในภพน้อย
และภพใหญ่ ภิกษุนั้นพึงหวั่นไหวด้วยเหตุอะไร พึงชอบใจในที่ไหน
ดังนี้.
บทว่า อาคมนํ คือ มาบ่อย ๆ. บทว่า คมนํ คือ ไปในภพอื่น
จากภพนี้. บทว่า คมนาคมนํ ไปและมา คือไปจากนี้แล้วกลับมาอีก.
บทว่า กาลํ คือ ความตาย. บทว่า คติ คือ ควรไปตามคติด้วย
อำนาจแห่งการไป.
บทว่า ยมาหุ ธมฺมํ สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวธรรมใดว่า เป็น
เยี่ยมดังนี้. เป็นคาถาถาม. เพราะในวาทะเหล่านี้วาทะจริงไม่มีแม้แต่อย่าง
เดียว เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้นพูดเพียงแต่เห็นอย่างเดียว ฉะนั้น
บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงความนั้น จึงตรัสคาถาแก้นี้ก่อน
ว่า สกํ หิ ธรรมของตนบริบูรณ์ ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สมฺมตึ คือ ทิฏฐิ. บทว่า อโนนํ คือ ไม่พร่อง.
เมื่อสมณพราหมณ์เหล่านี้ กล่าวธรรมของตนว่า เป็นธรรมบริบูรณ์ กล่าว
ธรรมของตนอื่นว่าเลว พึงทราบความว่า หากว่าบุคคลเป็นคนเลว
เพราะคำที่ผู้อื่นตำหนิดังนี้เป็นต้น.
บทนั้นมีความดังนี้ ผิว่า บุคคลพึงเป็นคนเลว เพราะเหตุที่ผู้อื่น
ตำหนิไซร้ ใคร ๆ ก็ไม่พึงเป็นผู้วิเศษ คือ เลิศในธรรมทั้งหลาย เพราะ
อะไร เพราะปุถุชนย่อมกล่าวธรรมของผู้อื่น โดยความเป็นธรรมเลว
ชนทั้งหลายเป็นผู้กล่าวยืนยันในธรรมเป็นทางดำเนินของตนเท่านั้น.
บทว่า วมฺภยิตการณา เพราะเหตุที่ผู้อื่นตำหนิ คือ เพราะถูกกำจัด.
บทว่า ครหิตการณา เพราะเหตุที่ผู้อื่นติเตียน คือ เพราะเหตุที่ตน
ทำความลามกไว้. บทว่า อุปวทิตการณา เพราะเหตุที่ผู้อื่นค่อนคือด่า.
บทว่า สกายนํ คือ ทางดำเนินของตน. มีอะไรที่จะกล่าวอีก
มีดังต่อไปนี้.
พึงทราบคาถาว่า สธมฺมบูชา การบูชาธรรมเป็นทางดำเนินของ
ตนต่อไป. บทนั้นมีความดังนี้ ก็แม้การบูชาธรรมของสมณพราหมณ์
เหล่านั้นย่อมเป็นของจริง เหมือนดังพวกเดียรถีย์เหล่านั้นสรรเสริญธรรม
เป็นทางดำเนินของตน เพราะพวกเขานับถือบูชาศาสดาเป็นต้นอย่างยิ่ง
ผิว่า พวกเขาพึงถือเป็นประมาณในข้อนั้นได้ เมื่อเป็นอย่างนั้น วาทะ
ทั้งหมดก็พึงเป็นของจริง. เพราะอะไร. เพราะความหมดจดของสมณ-
พราหมณ์เหล่านั้นเป็นของเฉพาะตัวเท่านั้น. ความสำเร็จนั้นย่อมไม่สำเร็จ
ในบุคคลอื่น แม้โดยปรมัตถ์ก็ไม่มี. เพราะความหมดจดนั้นเป็นเพียง
ยึดถือด้วยความเห็นเท่านั้น ของสมณพราหมณ์เหล่านั้น ผู้มีปัญญาอัน

บุคคลอื่นพึงแนะนำ. บทว่า ปจฺจตฺตเมว คือ เฉพาะตัวเท่านั้น. อนึ่ง
โดยตรงกันข้าม ผู้ใดชื่อว่า เป็นสมณพราหมณ์ เพราะลอยบาปได้แล้ว
พึงทราบคาถาว่า ญาณอันบุคคลอื่นแน่ะนำย่อมไม่มีแก่พราหมณ์นั้น.
บทนั้นมีความดังนี้ ญาณอันบุคคลอื่นพึงแนะนำ ย่อมไม่มีแก่
พราหมณ์ เพราะเป็นผู้เห็นชอบแล้วโดยนัยมีอาทิว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวง
ไม่เที่ยงดังนี้ แม้ความตัดสินใจแล้วยึดมั่นในธรรม คือทิฏฐิทั้งหลายว่า
นี้เท่านั้นจริงดังนี้ก็ไม่มีแก่พราหมณ์ เพราะเหตุนั้น พราหมณ์จึงก้าวล่วง
เสียแล้วซึ่งความทะเลาะกันด้วยทิฏฐิ เพราะพราหมณ์นั้นย่อมไม่เห็นธรรม
อื่นโดยความเป็นธรรมประเสริฐ นอกจากสติปัฏฐานเป็นต้น.
บทว่า น ปรเนยฺโย คือ พราหมณ์ไม่ต้องอาศัยผู้อื่นแนะนำ คือให้รู้.
บทว่า ปรปตฺติโย น ปรปจฺจโย คือ ไม่เชื่อผู้อื่น. บทว่า น ปรปฏิพทฺธคู
คือ ไม่ดำเนินเนื่องด้วยผู้อื่น.
พึงทราบการเชื่อมและความแห่งคาถาว่า ชานามิ เราย่อมรู้ดังนี้
เป็นต้นต่อไป. เพราะพราหมณ์ชั้นเยี่ยม (ปรมัตถพราหมณ์) ย่อมไม่เห็น
ธรรมอื่น โดยความเป็นธรรมประเสริฐอย่างนี้ก่อน ส่วนเดียรถีย์พวกอื่น
รู้อยู่ด้วยปรจิตตญาณ (ญาณรู้ใจผู้อื่น) เป็นต้น แม้เห็นอยู่ แม้กล่าวอยู่
อย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็นความหมดจดนี้เป็นของจริง ชื่อว่าย่อมเห็นความ
หมดจดด้วยทิฏฐิ. เพราะเหตุไร. เพราะบรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้นหาก
ว่าแม้สมณพราหมณ์ผู้หนึ่งได้เห็นแล้ว สมณพราหมณ์ผู้ได้เห็นเนื้อความ
ตามเป็นจริงด้วยปรจิตตญาณเป็นต้นนั้น จะมีประโยชน์อะไรด้วยการเห็น
นั้นของสมณพราหมณ์นั้นเล่า จะทำอะไรได้เล่า จะกำหนดรู้ทุกข์ให้สำเร็จ
ได้อย่างไรเล่า หรือว่าพวกเดียรถีย์เหล่านั้น ล่วงอริยมรรคแม้โดยประการ

ทั้งปวงอย่างใดอย่างหนึ่งบรรดาการละเหตุแห่งทุกข์เป็นต้น ย่อมกล่าว
ความบริสุทธิ์ด้วยทัศนะอื่น พระพุทธเจ้าเป็นต้นทรงก้าวล่วงเดียรถีย์
เหล่านั้น ย่อมกล่าวความบริสุทธิ์ด้วยทัศนะอื่นนั่นแล.
พึงทราบการเชื่อมและความแห่งคาถาว่า ปสฺสํ นโร นรชนเมื่อ
เห็นดังนี้เป็นต้น. มีอะไรที่จะกล่าวยิ่งกว่านี้อีก มีดังต่อไปนี้. นรชนใด
ได้เห็นด้วยปรจิตตญาณเป็นต้น นรชนนั้นเมื่อเห็นก็ย่อมเห็นนามรูปไม่อื่น
ไปจากนั้น หรือเห็นแล้วก็รู้จักนามรูปเหล่านั้นเท่านั้น โดยความเป็นของ
เที่ยงหรือโดยความเป็นสุข ไม่เห็นเป็นอย่างอื่น นรชนเมื่อเห็นอย่างนี้
เห็นนามรูปมากบ้าง น้อยบ้าง โดยความเป็นของเที่ยง และโดยเป็นสุข
โดยแท้ ถึงอย่างนั้นผู้ฉลาดทั้งหลาย ย่อมไม่กล่าวความหมดจดด้วยความ
เห็นนามรูปนั้นเลย.
พึงทราบการเชื่อมและความแห่งคาถาว่า นิวิสฺสวาที นรชนผู้กล่าว
ด้วยความถือมั่นดังนี้เป็นต้นต่อไป. แม้เมื่อความบริสุทธิ์ไม่มีด้วยความ
เห็นนั้น นรชนใดกล่าวด้วยความถือมั่นอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็น ความ
บริสุทธิ์นั้นเป็นจริง หรืออาศัยความเห็นนั้น ถือความบริสุทธิ์ด้วยทิฏฐิ
กล่าวด้วยความถือมั่นอย่างนี้ว่า นี้เท่านั้นจริง นรชนนั้นเป็นผู้อันใคร ๆ
ไม่พึงแนะนำให้ดีได้ เป็นผู้เชิดทิฏฐิที่กำหนดปรุงแต่งแล้วไว้ในเบื้องหน้า
นรชนั้นนอาศัยวัตถุใดมีศาสดาเป็นต้น ก็กล่าววัตถุนั้นว่างามในเพราะ
ทิฏฐินั้น สำคัญตนว่า เราเป็นผู้มีวาทะหมดจด มีวาทะบริสุทธิ์ดังนี้ ได้
เห็นว่าแท้ในทิฏฐินั้น คือได้เห็นความไม่วิปริตในทิฏฐิของตนนั้น. อธิบาย
ว่า ทิฏฐินั้นเป็นไปอย่างใด ได้เห็นทิฏฐินั้นเป็นไปอย่างนั้น ไม่ปรารถนา
จะเห็นโดยประการอื่น.

บทว่า นิวสฺสวาที คือ กล่าวเพราะความมั่นใจ. บทว่า ทุพฺพินโย
คือ ยากที่จะแนะนำได้. บทว่า ทุปฺปญฺญาปโย คือ ยากที่จะให้รู้ คือ
ให้ได้อย่างใจได้.
บทว่า ทุนฺนิชฺฌาปโย ยากที่จะให้เข้าใจได้ คือ ยากที่จะให้เข้าใจ
บ่อย ๆ เพื่อทดสอบใจแล้วถือเอาได้. บทว่า ทุปฺเปกฺขาปโย คือ ยาก
ที่จะให้เห็นได้. บทว่า ทุปฺปสาทโย คือ ยากที่ให้จิตเกิดความเลื่อมใส
ได้. บทว่า อปสฺสิ ได้เห็นแล้ว คือได้บรรลุปฏิเวธด้วยญาณ. บทว่า
ปฏิวชฺฌิ ได้แทงตลอด คือได้บรรลุความตรัสรู้ด้วยจิต. พึงทราบความ
ในเดียรถีย์ทั้งหลาย ผู้เชิดทิฏฐิที่กำหนดไว้ในเบื้องหน้าดังต่อไปนี้.
พึงทราบคาถาว่า น พฺราหฺมโณ กปฺปมุเปติ สงฺขํ1 พราหมณ์
ทราบด้วยญาณแล้วย่อมไม่เข้าถึงซึ่งความกำหนด ดังนี้เป็นต้นต่อไป.
ในบทเหล่านั้น บทว่า สงฺขํ2 ความว่า ทราบแล้ว คือรู้แล้ว. บทว่า
นปิ ญาณพนฺธุ ไม่มีตัณหาหรือทิฏฐิเป็นเครื่องผูกพันเพราะญาณ คือไม่
ทำตัณหาหรือทิฏฐิเป็นเครื่องผูกพัน ด้วยสมาปัตติญาณเป็นต้น. ในบท
นั้นมีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่าไม่มีตัณหาหรือทิฏฐิเป็นเครื่องผูกพันเพราะญาณ
เพราะมีวิเคราะห์ว่า ไม่มีตัณหาและทิฏฐิเป็นเครื่องผูกพันอันทำแล้วด้วย
ญาณ. บทว่า สมฺมติโย ได้แก่ สมมติคือทิฏฐิ. บทว่า ปุถุชฺชา คือ
เป็นแดนเกิดของปุถุชน. บทว่า อุคฺคหณนฺติ มญฺเญ คือ สมณพราหมณ์
เหล่าอื่นย่อมถือมั่น. อธิบายว่า สมณพราหมณ์เหล่าอื่นย่อมถือมั่นทิฏฐิ
เหล่านั้น. บทว่า อุเปกฺขติ ย่อมวางเฉย คือไม่เพ่งดูตั้งแต่เกิด. มีอะไร
ที่กล่าวให้ยิ่งไปอีก มีดังต่อไปนี้.

1. 2. ม. สงฺขา แก้เป็น สงฺขาย.

พึงทราบคาถาว่า วิสชฺช คนฺถานิ มุนีสละแล้วซึ่งกิเลสเครื่องร้อย-
รัดทั้งหลายในโลกนี้ ดังนี้เป็นต้นต่อไป. ในบทเหล่านั้น บทว่า อนุคฺคโห
คือเว้นจากความถือมั่น. ชื่อ อนุคฺคโห เพราะไม่มีการถือมั่น หรือเพราะ
ไม่ถือมั่น. บทว่า คนฺเถ โวสฺสชฺชิตฺวา วา วางกิเลสเครื่องร้อยรัด
ทั้งหลาย คือสละกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหลายมีอภิชฌาเป็นต้น. บทว่า
วิสชฺช สละแล้ว คือละโดยไม่ยึดมั่นอีก. บทว่า คถิเต รัด คือผูกแน่น.
บทว่า คนฺถิเต พัน คือพันไว้เหมือนจับด้าย. บทว่า พนฺเธ เหนี่ยวรั้ง
คือรั้งไว้อย่างดี. บทว่า วิพนฺเธ เกาะเกี่ยว คือเกาะเกี่ยวหลายอย่าง.
บทว่า ปลิพุทฺเธ พัวพัน คือผูกติดกันโดยรอบ. บทว่า พนฺธเน ผูก
ไว้ คือผูกไว้ด้วยกิเลส. บทว่า โผฏยิตฺวา คือ คลายแล้ว. บทว่า สชฺชํ1
วิสชฺชํ กโรนฺติ
ทำการปลดปล่อย คือทำให้เป็นของใช้ไม่ได้. บทว่า
วิโกปนฺติ คือ ทำให้แหลกไปเป็นชิ้น ๆ. มีอะไรที่จะกล่าวยิ่งกว่านั้นอีก
มีดังต่อไปนี้.
นรชนเห็นปานนั้นพึงทราบคาถาว่า ปุพฺพาสเว มุนีละอาสวะอันมี
ก่อน ดังนี้เป็นต้นต่อไป.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปุพฺพาสเว ได้แก่ กิเลสอันเกิดขึ้นปรารภ
รูปในอดีตเป็นต้น. บทว่า นเว ไม่ทำอาสวะใหม่ ได้แก่ กิเลสอันเกิดขึ้น
ปรารภรูปในปัจจุบันเป็นต้น. บทว่า น ฉนฺทคู ไม่เป็นผู้ดำเนินไปด้วย
ความพอใจ คือไม่ไปด้วยอำนาจฉันทาคติเป็นต้น. บทว่า อนตฺตครหี ไม่
เป็นผู้ติเตียนคน คือไม่ติเตียนคนด้วยการกระทำและไม่กระทำ อย่างนี้แล
ชื่อว่าไม่ติเตียนตน. พึงทราบคาถาต่อไปว่า ส สพฺพธมฺเมสุ มุนีนั้น
กำจัดเสนาในธรรมทั้งปวง.

1. ม. สจฺจํ.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพธมฺเมสุ คือ ในธรรมอันได้แก่ทิฏฐิ
62 อันมีประเภทอย่างนี้ว่า รูปที่เห็นแล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า
ปนฺนภาโร คือ เป็นผู้ปลงภาระแล้ว. บทว่า น กปฺปิโย คือ ไม่มี
กำหนด. อธิบายว่า ไม่ทำความกำหนดแม้ 2 อย่าง. บทว่า นูปรโต
ไม่เข้าไปยินดี คือไม่มีความพร้อมที่จะเข้าไปยินดีดุจพระเสกขะผู้เป็น
กัลยาณปุถุชน. บทว่า น ปตฺถิโย ไม่มีความปรารถนา คือไม่มีความ
ทะเยอทะยาน. จริงอยู่ ตัณหา ชื่อว่า ปตฺถิยา เพราะมีความปรารถนา.
ชื่อว่า น ปตฺถิโย เพราะไม่มีความปรารถนา. ก่อนหลังจากนี้มี
ความง่ายทั้งนั้น เพราะมีนัยดังได้กล่าวไว้แล้วในที่นั้น ๆ. พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงจบเทศนาด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัต. เมื่อจบเทศนา
ได้มีผู้บรรลุเช่นกับที่กล่าวแล้วใน ปุราเภทสูตร นั่นแล.
จบอรรถกถามหาวิยูหสุตตนิทเทสที่ 13

ตุวฏกสุตตนิทเทสที่ 14


[700] (พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า) ข้าพระองค์ขอทูลถาม
พระองค์ผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ ผู้สงัด แสวงหาคุณ
ใหญ่ว่า ภิกษุเห็นอย่างไรแล้ว จึงไม่ถือมั่นซึ่งสังขาร
อะไรในโลก ย่อมดับ.


ว่าด้วยปุจฉามี 3 อย่าง


[701] ชื่อว่า ปุจฉา ในคำว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์
ปุจฉามี 3 อย่าง คือ อทิฏฐโชตนาปุจฉา 1
ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา 1 วิมติฉทนาปุจฉา 1.
ทิฏฐโชตนาปุจฉาเป็นไฉน ลักษณะใดที่ยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่
พิจารณา ไม่เทียบเคียง ไม่กระจ่าง ไม่แจ่มแจ้งโดยปกติ บุคคลย่อม
ถามปัญหาเพื่อจะรู้ เพื่อเห็น เพื่อพิจารณา เพื่อเทียบเคียง เพื่อกระจ่าง
เพื่อแจ่มแจ้งซึ่งลักษณะนั้น นี้ชื่อว่า อทิฏฐโชตนาปุจฉา.
ทิฏฐสังสันทนาปุจฉาเป็นไฉน ลักษณะใดที่รู้ เห็น พิจารณา
เทียบเคียง กระจ่าง แจ่มแจ้งแล้วโดยปกติ บุคคลย่อมถามเพื่อต้องการ
สอบสวนลักษณะนั้นกับบัณฑิตอื่น ๆ นี้ชื่อว่า ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา.
วิมติเฉทนาปุจฉาเป็นไฉน บุคคลเป็นผู้แล่นไปสู่ความเคลือบแคลง
สงสัยเป็นสองทางว่า เป็นอย่างนี้หรือหนอ หรือไม่เป็นอย่างนี้ เป็นอะไร
หนอ หรือเป็นอย่างไร บุคคลนั้นถามปัญหาเพื่อต้องการตัดความเคลือบ-
แคลงสงสัย นี้ชื่อว่า วิมติเฉทนาปุจฉา ปุจฉามี 3 อย่างนี้.